ป้ายความปลอดภัย ป้ายเซฟตี้ ป้าย SAFETY | SAFETY SIGN

ผลงานป้ายความปลอดภัย หรือป้ายเซฟตี้ของเรา

สีและเครื่องหมายความปลอดภัย

ตารางที่ 1 : สีเพื่อความปลอดภัย และสีตัด

สีเพื่อความปลอดภัยความหมายตัวอย่างการใช้งานสีตัด
ป้ายความปลอดภัยหยุดเครื่องหมายหยุด
เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน
เครื่องหมายห้าม
สีขาว
ป้ายความปลอดภัยบังคับให้ต้องปฏิบัติบังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล
เครื่องหมายบังคับ
สีขาว
ป้ายความปลอดภัยแสดงสภาวะ ปลอดภัยทางหนีไฟ
ทางออกฉุกเฉิน
ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน
หน่วยปฐมพยาบาล
หน่วยกู้กัย
เครื่องหมายสารนิเทศแสดงสภาวะประกอบด้วย
สีขาว
ป้ายความปลอดภัยระวังมีอันตรายชี้บ่งว่าอันตราย(เช่น ไฟ, วัตถุระเบิด, กัมมัตภาพรังสี, วัตถุมีพิษ และอื่นๆ)
ชี้บ่งถึงเขตอันตราย, ทางผ่านที่มีอันตราย, เครื่องกีดขวาง, เครื่องหมายเตือน
สีดำ

หมายเหตุ :

  1. สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง และตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย
  2. อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ไม่ให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยตามตารางที่ 2 สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มืดมัว
ป้ายความปลอดภัย

ตัวอย่างการใช้สีเพิ่อความปลอดภัยและสีัตัด หมายเหตุ: พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

รูปแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

  1. รูปแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และสีที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงเครื่องหมายตามตารางที่ 2
  2. ให้แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแทบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม
  3. ในกรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของแต่ละประเภท ร่วมกับเครื่องหมายเสริม

ตารางที่ 2 : รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

ประเภทรูปแบบสีที่ใช้หมายเหตุ
เครื่องหมายห้ามป้ายความปลอดภัยสีพื้น : สีขาว สีของแถบตามขอบวงกลม และแถบขวาง : สีแดง สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำสีขาว
เครื่องหมายบังคับป้ายความปลอดภัยสีพื้น : สีฟ้า สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาวสีขาว
เครื่องหมาย สารนิเทศเกี่ยวกับ สภาวะปลอดภัยป้ายเซฟตี้สีพื้น : สีเขียว สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาวสีขาว
เครื่องหมายเตือนป้ายเซฟตี้สีพื้น : สีเหลือง สีของแถบตามขอบ : สีดำ สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำสีดำ

เครื่องหมายเสริม

  1. รูปแบบของเครื่องหมายเสริม เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส
  2. สีพื้นให้ใช้สีเดียวกับสีเพื่อความปลอดภัย และสีของข้อความให้ใช้สีตัดดังที่กำหนดไว้ในตารางที่ 1 หรือสีของพื้นให้ใช้สีขาว และสีของข้อความให้ใช้สีดำ
  3. ตัวอักษรที่ใช้ในข้อความ ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 / ลักษณะของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรงเงา หรือลวดลาย / ความกว้างของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร
  4. ให้แสดงเครื่องหมายเสริมไว้ใต้เครื่่องหมายเพื่อความปลอดภัย

หมายเหตุ : ตารางที่ 1, 2 อ้างอิงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก. 635 เล่ม 1 ถึง 2-2529, สีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย, สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม

ขนาดของเครื่องหมายความปลอดภัย

ตารางที่ 3 : ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษรที่ใช้ในเครื่องหมายเสริม

ป้าย Safety
ป้าย Safety
ป้ายความปลอดภัย
ป้ายความปลอดภัย

ความสูงพิกัดของ แผ่นเครื่องหมาย (a)เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความสูงของ เครื่องหมาย(b)ความสูงของตัวอักษร ในเครื่องหมายเสริม
75605.0
100806.6
15012010.0
22518015.0
30024020.0
60048040.0
75060050.0
90072060.0
120096080.0
ความไวในปฏิกริยา

4-ระเบิดได้
3-ความร้อนและการกระแทกอาจเกิดระเบิด
2-ปฏิกิริยาเคมีรุนแรง
1-ไม่เสถียรถ้าโดนความร้อน
0-เสถียร

ความไวไฟ

จุดวาบไฟ 4-ต่ำกว่า 22องศาเซลเซียส 3-ต่ำกว่า 38องศาเซลเซียส 2-ต่ำกว่า 93องศาเซลเซียส 1-สูงกว่า 93องศาเซลเซียส 0-ไม่ติดไฟ

ข้อมูลพิเศษ

OXY-ออกซิไดซ์
ACID-กรด
COR-กัดกร่อน
ALK-ด่าง 
NoWater-ห้ามผสมน้ำ

สุขภาพ

4-อันตรายถึงตาย
3-อันตรายสูง
2-อันตราย
1-อันตรายน้อย
0-ปลอดภัย