Skip to content
เครื่องตีเส้นจราจรของบริษัท สยามทราฟฟิค จำกัดใช้สำหรับตีเส้นถนนชนิดสีเทอร์โมพลาสติกโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. เครื่องตีเส้นจราจรแบบธรรมดา(รถเข็น) มีคุณสมบัติดังนี้
มีปากไถชนิดด้ามเดี่ยวขนาด 10, 15 และ 20 เซนติเมตร พร้อมปากโรยลูกแก้วสะท้อนแสง
กล่องบรรจุลูกแก้วสะท้อนแสง บรรจุได้ 13 กิโลกรัม
ถังบรรจุสีมีความจุ 70 กิโลกรัม
ภายในถังมีใบพัดกวนสี
ล้อหลังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว สามารถหมุนได้ 360 องศา
กล่องลูกแก้วสะท้อนแสงชนิดปิด – เปิด ด้วยเฟือง
ล้อหน้ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว จำนวน 2 ล้อ
ระบบเฟืองที่ใช้ในการปิด – เปิดลูกแก้วสะท้อนแสง
รถตีเส้นจราจร และอุปกรณ์เคลือบด้วยสีชนิดทนความร้อน
2. เครื่องตีเส้นถนนแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ มีคุณสมบัติดังนี้
มีปากไถชนิดด้ามเดี่ยวขนาด 10, 15 และ 20 เซนติเมตร พร้อมปากโรยลูกแก้วสะท้อนแสง
กล่องบรรจุลูกแก้วสะท้อนแสง บรรจุได้ 13 กิโลกรัม
ถังบรรจุสีมีความจุ 100 กิโลกรัม
ภายในถังมีใบพัดกวนสี
เครื่องยนต์ฮอนด้าขนาด 5.5 แรงม้า
ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฮโดรลิก
ล้อหลังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว สามารถหมุนได้ 360 องศา
มีวาล์วต่อแก๊สแบบสายมือถือ
กล่องลูกแก้วสะท้อนแสงชนิดปิด – เปิด ด้วยเฟือง
ล้อหน้ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว จำนวน 2 ล้อ
ระบบเฟืองที่ใช้ในการปิด – เปิดลูกแก้วสะท้อนแสง
วาล์วควบคุมการเดินหน้า – ถอยหลัง
วาล์วปรับความเร็วรถตีเส้นจราจร
เครื่องตีเส้นจราจร และอุปกรณ์เคลือบด้วยสีชนิดทนความร้อน
วิธีใช้เครื่องตีเส้นจราจร
เมื่อทำการต้มสีที่อุณหภูมิ 180-200 °C เรียบร้อยแล้ว ทำการมาร์คพื้นที่ ที่จะทำการตีเส้นจราจรเรียบร้อยแล้ว ตั้งไกด์ให้ตรงกับเส้นที่มาร์คไว้
กดคันโยกเพื่อเปิดสีที่อยู่ในเตา อุ่นสีให้ไหลลงที่ปากไถสีเพื่อทำการตีเส้นจราจร (พร้อมตีได้เลย)
กดดันคันโยกเพื่อทำการเปิดลูกแก้วสะท้อนแสง
เปิดปากไถสี โดยดันกระแทกไปที่พื้น
ดันเครื่องตีเส้นจราจร แบบเข็นไปข้างหน้า เพื่อให้รถเดินหน้า
เดินตามรถตีเส้นแบบเพื่อประคองรถไปเรื่อยๆ (แบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์)
การบำรุงรักษาเครื่องตีเส้น
เมื่อทำการตีเส้นจราจร เสร็จทุกครั้ง ควรทำความสะอาดปากไถสี และเตาให้มีคราบสีติดน้อยที่สุด
ผลงานเครื่องตีเส้นจราจรของเรา
We use cookies to ensure that we give you the best experience on our website. If you continue to use this site we will assume that you are happy with it. Ok