สีเทอร์โมพลาสติก ใช้สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวทางของบริษัท สยามทราฟฟิค จำกัด ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ไตร-สตาร์” (Tri-Star) ซึ่งผลิตตามมาตรฐานกรมทางหลวง ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 542-2549 และยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9002 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546
สีเทอร์โมพลาสติกเหมาะสำหรับงานตีเส้นจราจรเพื่อแบ่งช่องทางการเดินรถ และเป็นข่องทางจราจรที่บังคับเช่น ลูกศรเลี้ยวซ้าย(ให้เลี้ยวซ้าย) ลูกศรเลี้ยวขวา(ให้เลี้ยวขวา) บนพื้นผิวถนนเที่ราดยางมะตอย และคอนกรีต เช่นผิวถนนทางหลวง ลานจอดรถ หรือพื้นที่ตามอาคารจอดรถต่างๆ เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความคงทน และมีส่วนผสมของลูกแก้วสะท้อนแสง ซึ่งทำให้สามารถเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืน ทำให้เกิดความปลอดภัย และลดอุบัติเหตุ สีที่ใช้กันเป็นมาตรฐานสากลคือสีขาว และสีเหลือง โดยที่วัสดุเทอร์โมพลาสติก”ไตร – สตาร์” บรรจุใส่ถุงพลาสติกสาน บรรจุน้ำหนักถุงละ 20 กิโลกรัม
คุณสมบัติของสีเทอร์โมพลาสติก |
สีขาว |
สีเหลือง |
|
1. | สารยึด ร้อยละโดยน้ำหนัก | 18% | 18% |
2. | ลูกแก้ว ร้อยละโดยน้ำหนัก | 30% | 30% |
3. | ระยะเวลาแข็งตัว ที่อุณหภูมิ 32°C (นาที) | 3 | 3 |
4. | อายุการใช้งาน (ปี) | 2 | 2 |
5. | ก่อให้เกิดมลพิษ | ไม่ | ไม่ |
นอกจากนี้ทางบริษัท สยามทราฟฟิค จำกัด ยังรับตีเส้นจราจรโดยใช้สีเทอร์โมพลาสติกโรยหน้าด้วยลูกแก้วสะท้อนแสง ภายในอาคาร หรือบริเวณที่จอดรถ ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย และทีมงานมืออาชีพ โดยทางเราได้รับความไว้วางใจจากหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน ทางด่วน(ประชาชื่น) และถนนหลวง
วิธีการต้มสีเทอร์โมพลาสติก
- จุดไฟเตาต้มสีเทอร์โมพลาสติก พอร้อนนำเอาสีใส่เตาต้ม 1 หรือ 2 ถุง ก่อน
- พอสีตีเส้นเริ่มละลายให้เปิดใบพัดกวนสี กวนตลอด เมื่อสีละลายเหลวจึงเพิ่มสีทีละถุง
- พอละลายให้เติมไปจนกว่าพอใช้ หรือเต็มหม้อต้ม
- ให้ตั้งไฟอยู่ที่ 160 – 180 องศาเซลเซียส
- กวนสีตีเส้นจราจรประมาณ 30 นาที จึงหรี่ไฟ รักษาอุณหภูมิไว้
- เมื่อได้กวนสีตีเส้นถนนเข้าที่ดีแล้ว ก็สามารถเปิดปากสีให้ไหลสู่รถเข็นสี เพื่อนำไปใช้รีดเส้นได้ จะได้สีที่สวยเนียน เป็นเนื้อเดียวกันละเอียด
ข้อควรระวังในการต้มสีเทอร์โมพลาสติก
- อุณหภูมิที่ต้มไม่ควรเกิน 200 องศาเซลเซียส
- ไม่ควรเติมสีเทอร์โมพลาสติกครั้งละหลายๆ ถุง ใบพัดสีจะหมุนไม่ไหว
- หากสีตีเส้นยังเหลืออยู่ในเตาต้มหลังเลิกการใช้งาน ให้คายสีออกจากเตาให้หมด ไม่ควรเหลืออยู่ในเตา หากทิ้งไว้ และนำกลับมาต้มใหม่ สีที่ค้างจะใช้เวลานานและเปลืองแก๊สในการละลาย
- สีตีเส้นจราจรที่คายออกมานั้น ให้นำกลับไปต้มใหม่ได้ โดยให้ผสมกับสีที่จะต้มใหม่
- ไม่ควรใช้สีตเส้นถนนเก่าที่ต้มแล้วทั้งหมด เพราะสีที่ผ่านการต้มแล้วจะเสียคุณสมบัติในด้านการจับยึด ทำให้สีกรอบ แตกหักง่าย ไม่เหนียวเหมือนสีที่ต้มใหม่